Prepare for the Future : 6 คำถาม การเตรียมตัวสำหรับอนาคต

อนาคตเป็นแบบไหน? “อนาคตจะเป็นแบบไหนคิดว่าถามตัวเองดีที่สุด อนาคตไม่ต้องไปสนใจใครสุดท้ายก็มาจากตัวเอง” — ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
June 13, 2024

1.เทรนด์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

  • อาหารสุขภาพมาแรง เชื่อว่าอีก 5 ปีข้างหน้า เทรนด์อาหารสุขภาพ เช่น ผักออร์แกนิคจะเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มคนที่รักสุขภาพ
  • รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีคนหันมาใช้มากขึ้น เพราะฉะนั้นห้างสรรพสินค้าก็อาจจะมีที่จอดสำหรับชาร์จแบตเพื่ออำนวยความสะดวกของผู้ใช้บริการ
  • มอเตอร์ไซค์รับจ้าง, Grab จะมีจำนวนมากขึ้น คนไม่ต้องขับรถออกไปซื้ออาหารด้วยตัวเองอีกต่อไป ส่งผลให้ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็สามารถขายของได้
  • อสังหาฯ แนวราบจะขายดีขึ้น ธุรกิจที่เกี่ยวกับบ้าน เช่น บริษัทที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย คนสวน รปภ. ก็จะได้รับความนิยม
  • เครือข่ายของรถไฟฟ้าจะขยายตัวเข้าถึงในหลายพื้นที่ ทำให้สถานที่ใกล้รถไฟฟ้ามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นและอยู่ใกล้กับที่ทำงานทำให้การเดินทางมีความสะดวกและรวดเร็ว
  • ร้านค้าออนไลน์จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากความสะดวกสบายของการขนส่งและการเก็บ Stock ของ และผู้บริโภคจะหันมาใช้จ่ายแบบไร้เงินสดมากขึ้น

2.จะเลือกทำอะไร?

ZERO TO ONE

  • ทำสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว คือการสร้างแบบ 1 to n
  • ทุกครั้งที่เราสร้างสิ่งใหม่ ๆ เราจะสร้างแบบ 0 to 1
  • ถ้าเราไม่ลงทุนทำในสิ่งที่ยากเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ บริษัทจะล้มเหลวในอนาคต ไม่ว่าในปัจจุบันจะมีกำไรมากเท่าไหร่ก็ตาม
  • การผูกขาด (Monopoly) เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • การผูกขาดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Monopoly) ช่วยสร้างสินค้าจำนวนมาก (Greater Abundance) ไม่ใช่สร้างความขาดแคลนอย่างปลอม ๆ (Artificial Scarcity) เช่น Alibaba.com, ebay, airbnb, PayPal เป็นต้น
  • การผูกขาด จะช่วยให้เราสามารถทำงานวิจัย และสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้ (Innovation)
  • บริษัทที่ประสบความสำเร็จมีความแตกต่างกัน แต่ละรายมักจะมีการผูกขาด (Monopoly) สำหรับปัญหาแต่ละแบบ
  • บริษัทที่ล้มเหลวทั้งหมดเหมือนกัน คือไม่สามารถหนีการแข่งขันที่รุนแรงได้

Globalization

  • คนส่วนใหญ่คิดว่าอนาคตของโลกจะถูกกำหนดด้วย Globalization แต่ในความเป็นจริงแล้ว Technology สำคัญมากกว่า
  • ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัด In Globalization โดยไม่มี New Technology จะไม่สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ประเทศไทย

  • ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 12 ของโลก และมีโรงงานประกอบรถยนต์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย 18 บริษัท
  • เป็นผู้ผลิต Hard Disk Drive อันดับ 1 ของโลก (40% ของการผลิตทั่วโลก) มีผู้ผลิตหลักคือ Seagate, Western, Digital, Hatachi และ Toshiba

3.ทักษะอะไรที่จำเป็นสำหรับอนาคต?

  • มีความอยากรู้อยากเห็น Curiosity
  • อยากเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ Not accepting the default
  • มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม Balancing rick portfolio
  • มีประสบการณ์ทั้งด้านกว้างและด้านลึก Combination of borad and deep experience

4.จะก้าวต่อไปอย่างไร?

The Seven Winning Strategies

  1. Technology Propelled ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  2. Hyper Releven ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ณ เวลานั้น
  3. Data Driven วิเคราะห์ Insights ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
  4. Asset Smart ใช้ทรัพย์สินอย่างฉลาด การจัดการ Inventory การ Outsourece การใช้ Cloud Computing
  5. Inclusive ทำงานร่วมกับ Stakehoders ทั้งหมด ให้ความสำคัญกับส่วนรวม SDG
  6. Talent Rich หาคนเก่งมาร่วมงาน รวมทั้งการ Outsourece Workforces
  7. Network Powered ใช้การเชื่อมโยงเปลี่ยนแปลงจากการขายของครั้งเดียวเป็นบริการต่อเนื่อง

5.เราถูก Disrupt ด้วยอะไร?

หัวใจที่จะ Disrupt ธุรกิจ คือ

  1. เทคโนโลยี (เป็นไปได้)
  2. ธุรกิจ (อยู่รอด)
  3. ลูกค้า (ต้องการ)

ทั้ง 3 ข้อนี้จะเข้ามา Disrupt ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่งมันคือนวัตกรรมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบทางธุรกิจใหม่ (New Business Model) มากกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเป็นสิ่งที่เกิดยากสำหรับบริษัทใหญ่ที่เติบโตดีอยู่แล้ว เพราะยึดติดกับรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) แบบเดิม

6.คิดหาคำตอบอย่างไร?

Design Thinking จะช่วยให้เราเข้าใจลูกค้าและทำ Product ให้ดีขึ้น

  1. เข้าใจผู้ใช้ (Empathize) ลงไปสัมผัสชีวิตจริงว่าพวกเขาเป็นอย่างไร จะได้มองเห็นถึงปัญหาโครงสร้างได้อย่างถูกจุด
  2. ระบุโจทย์ (Define) เรามักเอาคำตอบมาใส่ไว้ในโจทย์โดยไม่รู้ตัว จึงต้องปรับมุมมองปัญหา (Reframe Problems)
  3. คิดหาคำตอบ (Ideate) ไม่ใช่แค่ CEO เป็นคนคิดแต่ต้องเอาลูกน้องในทีมมาช่วยกันคิด สุดท้ายได้ไอเดียในการหาคำตอบและทุกคนจะรู้สึกว่าเป็นนโยบายของตัวเอง
  4. ทำแบบจำลอง (Prototype) ไปฝึกงาน ไปหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ลองไปเป็นลูกจ้างเขาก่อนแล้วสุดท้ายจะรู้ว่าต้องการแบบนั้นจริง ๆ หรือไม่
  5. ทดสอบ (Test) ลองทำแบบจำลองง่าย ๆ เท่าที่จำเป็น (Minimum Viable Product) หลายคนอยากทำให้ทุกอย่างดีทีเดียวแต่ยังไม่เคยได้ทดสอบกับลูกค้าก่อน ดังนั้น ควรที่จะทดสอบดูผลตอบรับ ปรับปรุงจนมั่นใจแล้วจึงทำของจริง

อ้างอิง :

  • ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ – ในหลักสูตรเอฟเต้ รุ่นที่ 9 ปี 2022 หัวข้อ New Era for Entrepreneur
Share this post

หลักสูตรที่กำลังเปิดรับสมัคร

28 - 29 กันยายน 67
@Q House Lumpini ชั้น 4
หลักสูตรระยะสั้น 2 วัน
(พิเศษ! เฉพาะรุ่นนี้พร้อมรับสิทธิ์ BUY 1 GET 1 FREE)

FTE FIN TAX & LAW

  • เข้าใจกฎหมายภาษีและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างถูกต้องและปลอดภัย
  • วิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จริงจากประสบการณ์ทั้งภาครัฐและเอกชน
  • เน้นการปฏิบัติและกรณีศึกษาจริง เพื่อให้คุณสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ทันที
25 - 28 ตุลาคม 67
@Grande Centre Point Terminal 21 และ Q house Lumpini
หลักสูตรระยะสั้น 3 วัน
(พิเศษ! เฉพาะรุ่นนี้ แถมฟรี! Bonus Class + FTE FIN Online)

FTE FIN รุ่นที่ 11

  • หลักสูตรบัญชี การเงิน ภาษี สำหรับเจ้าของธุรกิจ
  • เข้าใจข้อมูลทางการบัญชีการเงินโดยไม่ต้องลงบัญชีเป็น
  • คุ้มค่า ครบเครื่องเรื่องบัญชี การเงินและภาษีฉบับคนไม่ชอบตัวเลขก็เข้าใจได้ เรียนจบภายใน 3 วัน
FTE Blogs

Entrepreneurial Knowledge  

รวมบทความน่าสนใจเกี่ยวกับธุรกิจ เสริมความรู้ สร้างแรงบันดาลใจเพื่อผู้ประกอบการไทยทุกคน

📝 สมัครเรียน