คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ถ้าหากทำธุรกิจธรรมดาทั่วไปในรูปแบบของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นั่นแปลว่ากิจการของท่านมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างแน่นอน โดยปัจจุบันผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายความว่ารวมถึงนิติบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สำหรับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะมี 2 แบบ คือ
1.แบบแสดงรายได้ ภ.ง.ด. 50 สำหรับภาษีรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วัน หลังจากวันที่ปิดบัญชี
2. แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 51 ที่ต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากรอบบัญชีครึ่งปี
คือ ภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า หรือวิธีการจัดเก็บภาษีวิธีหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจของท่านต้องเสียภาษีไว้ล่วงหน้า ด้วยกฎหมายกำหนดให้คนที่จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย ซึ่งเป็นไปตามประเภทของเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด หรือพูดง่าย ๆ ก็คือภาษีที่ถูก “หัก” ไว้ตั้งแต่ตอนผู้จ่าย “จ่าย” เงินได้ให้กับเรา โดยคนที่หักภาษีไว้นั้นต้องนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3 กรณีที่หักบุคคลธรรมดาและ ภ.ง.ด. 53 กรณีที่หักนิติบุคคลภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากคนทำธุรกิจขายสินค้า หรือให้บริการประเภทต่าง ๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือผู้ประกอบการและผู้นำเข้า ซึ่งรวมไปถึงผู้ผลิต ผู้ให้บริการ
ผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก-ส่งออก ผู้นำเข้า ซึ่งมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1 ล้าน 8 แสนบาทขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม ในทุก ๆ วันที่เรามีการจ่ายในเรื่องต่าง ๆ บนใบเสร็จ อาจจะเห็นคำว่าใบกำกับภาษีซึ่งมีตัวเลขบอกว่าเงินที่เราจ่ายไปนั้นมีภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในนั้นกี่บาท สำหรับคนที่ทำธุรกิจส่วนใหญ่มักจะต้องเสียภาษีชนิดนี้จากการซื้อขายหรือให้บริการโดยต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำหรือการขายอสังหาริมทรัพย์ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่มีชื่อว่า ภ.ธ. 40 และในกรณีทั่วไปของธุรกิจเมื่อมีการขายอสังหาริมทรัพย์หรือการให้กู้ยืมเงินจะเสียภาษีที่อัตรา 3.3% รวมอัตราภาษีท้องถิ่น
จะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยจะใช้การขีดฆ่าแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว โดยคำว่าตราสารตามประมวลรัษฎากรหมายถึง เอกสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ หรือจะพูดง่าย ๆ ก็คือสัญญา เช่น ตราสาร(สัญญา) เช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน เป็นต้น
และนี่คือภาษีทั้งหมด 5 ประเภทที่คนทำธุรกิจทุกคนควรรู้จัก
ถ้าผู้ประกอบการรู้เรื่องภาษี
ข้อดีของการที่เจ้าของธุรกิจรู้เรื่องภาษี แน่นอนว่าจะต้องเป็นผลดีต่อกิจการ เพราะจะช่วยให้กิจการประหยัดภาษีได้ โดยต้องแยกรายจ่ายส่วนตัวกับรายจ่ายของกิจการออกจากกันอย่างชัดเจน อีกทั้งยังช่วยผู้ประกอบการวางแผนเรื่องทรัพยากรหรือดำเนินกิจการที่นำมาซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษี ช่วยผู้ประกอบการคำนวณต้นทุนสินค้าได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากภาษีธุรกิจส่วนใหญ่แปรผันตามราคาสินค้าทางภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเงินได้ เป็นต้น และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
หลาย ๆ ท่านคงเห็นแล้วใช่ไหมว่า การที่เจ้าของกิจการรู้เรื่องภาษีนั้นจะสามารถช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นมหาศาล ดังนั้น เจ้าของธุรกิจจึงควรเห็นถึงความสำคัญของเรื่องภาษีและเริ่มศึกษาหาข้อมูลไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มกิจการ เพื่อไม่ให้เรื่องของภาษีมาเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจของท่านในอนาคต
อ้างอิง :
รวมบทความน่าสนใจเกี่ยวกับธุรกิจ เสริมความรู้ สร้างแรงบันดาลใจเพื่อผู้ประกอบการไทยทุกคน